ภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) เปิดเผยในงานกิจกรรมนำเสนอโมเดลธุรกิจต่อแหล่งทุน และการจับคู่/เจรจาธุรกิจ ภายในกิจกรรมเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้นว่า ในปี 2567 นี้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ดำเนินนโยบายเพื่อสนับสนุนการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้น หรือสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการดำเนินธุรกิจ ด้วยนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยนอุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคตใน 2 ด้าน คือ
- RESHAPE THE INDUSTRY ปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ ผ่านการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยให้การส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีขั้นสูงให้มีศักยภาพทั้งในด้านการบริหารจัดการธุรกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีดิจิทัล โดยการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และปัญญาประดิษฐ์ โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง (Generative Ai) มาปรับใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- RESHAPE THE ACCESSIBILITY ปรับเพิ่มการเข้าถึงโอกาส ผ่านการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเป็นกลไกลในการส่งเสริมและสนับสนุนสตาร์ทอัพให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อสร้างมูลค่าธุรกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดด
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ดำเนิน กิจกรรมช่วงโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้นในงบปีประมาณ 2567 เพื่อสร้างโอกาสและช่องให้แก่สตาร์ทอัพในการพัฒนาความรู้และทักษะการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด เชื่อมโยงเครือข่ายกับอุตสาหกรรมสนับสนุนให้เป็นกลไกที่ส่งเสริมกการสร้างนวัตกรรม รวมถึงสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการตลาดอย่างเหมาะสม โดยมีวิสาหกิจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 60 กิจการและผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 33 กิจการ พร้อมเข้าร่วมการพัฒนาใน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่
- การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการบ่มเพาะสตาร์ทอัพให้มีองค์ความรู้ในการสร้างธุรกิจให้เติบโต และการเตรียมความพร้อมสู่การนำเสนอโมเดลธุรกิจกับนักลงทุน
- การสร้างนวัตกรรมร่วมและการปรึกษาแนะนำเชิงลึกก เป็นการพัฒนาและยกระดับศักยภาพธุรกิจโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้มีขีดความสามารถในการประกอบการที่เพิ่มขึ้น
- การส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายเงินทุนและตลาด โดยการสร้างโอกาสให้เกิดความร่วมมือือและเครือข่ายระหว่างบริษัทเอกชนที่สนใจร่วมลงทุน กับสตาร์ทอัพที่ได้รับการบ่มเพาะ ด้วยการจัดกิจกรรมนำเสนอโมเดลธุรกิจต่อแหล่งทุนและการจับคู่/เจรจาธุรกิจ เพื่อให้สตาร์ทอัพมีโอกาสได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน และสามารถเชื่อมโยงกับโซลูชั่นของสตาร์ทอัพไปใช้งานได้จริง เพื่อเป็นการทำการตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ
สำหรับกิจกรรมนี้จะช่วยให้เกิดการเจรจาธุรกิจ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีที่สตาร์ทอัพไทยจะได้มีโอกาสขยายธุรกิจ จากการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ช่องทางการตลาดใหม่ๆ และความร่วมมือจากบริษัทชั้นนำในประเทศได้
นอกจากนี้ ยังเชื่อมั่นว่าในอนาคต การเกิดขึ้นละการเติบโตของสตาร์ทอัพกลุ่มนี้ ยังจะเป็นผลดีในเชิงเศรษฐกิจทั้งสามารถลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่อไป
“ความตั้งใจของเราตอนนี้คือมุ่งสร้างยูนิคอร์นในประเทศไทย ตอนนี้เห็นว่าประเทศไทยมียูนิคอร์นแล้ว 3 ตัว ซึ่งการทำกิจกรรมนี้ก็จะช่วยต่อยอดให้สตาร์ทอัพไทยเติบโตต่อไปได้” ภาสกร กล่าว
สำหรับกลุ่มธุรกิจที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ความสนใจเป็นพิเศษได้แก่ กลุ่มพลังงาน ซอฟต์แวร์ ซุปเปอร์ฟู้ด เวลเนส เมดิเคิล รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัย เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้กำลังเป็นเทรนด์และมีแนวโน้มที่จะเติบโตในอนาคต