วันอาทิตย์ ที่ 9 ตุลาคม 2565 เวลา 10.00 น. นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เดินทางมาติดตามการสนับสนุนการสร้างอาชีพและรายได้ กลุ่มไม้กวาดมือเสือบ้านหนองแสนแปน พร้อมด้วย นายจิรศักดิ์ สีหามาตย์ รองหัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, นางสาวภัทรลภา สุริโย ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ นายสมาน พั่วโพธิ์ พัฒนาการจังหวัดสกลนคร นางนิตยา ทัศคร รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน ว่าที่ร้อยตรี รวยรุ่ง ใครบุตร นายอำเภอสว่างแดนดิน นายวิรุฒิ แสนสา พัฒนาการอำเภอสว่างแดนดิน นางอนุรักษ์ บุญศล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร เขต 3 ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตาลโกน ผู้แทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร และผู้แทนส่วนราชการ ร่วมลงพื้นที่การสนับสนุนการสร้างอาชีพและรายได้กลุ่มไม้กวาดมือเสือบ้านหนองแสนแปน ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองแสนแปน หมู่ที่ 7 ตำบลตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

นางอนุรักษ์ บุญศล สมาชิกภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร เขต 3 กล่าวต้อนรับ พร้อมทั้งแนะนำให้ทราบถึงความเป็นมาของกลุ่ม และความต้องการในการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ การเพิ่มช่องทางตลาดให้กับกลุ่ม พร้อมทั้งขอบคุณกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ที่ได้สนับสนุนงบประมาณโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มไม้กวาดมือเสือบ้านหนองแสนแปน จำนวน 116,600 บาท และนายอำเภอสว่างแดนดิน ได้นำเสนอสภาพทั่วไปของตำบลตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน สภาพเศรษฐกิจ อาชีพ และกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่มีในพื้นที่

นางสาวจิตติภรณ์ บุตรราช นักวิชาการพัฒนาพัฒนาชุมชนชำนาญการ (พัฒนากรประจำตำบล) แนะนำกลุ่มให้รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และคณะทราบ โดยกลุ่มไม้กวาดมือเสือบ้านหนองแสนแปน ได้จัดตั้งกลุ่มครั้งแรกเมื่อปี 2534 และลงทะเบียนเป็นกลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP กับกรมการพัฒนาชุมชน เมื่อปี 2557 ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 60 คน และบ้านหนองแสนแปน หมู่ที่ 7 ตำบลตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน ตามโครงการสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยมีอาชีพที่สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น สร้างรายได้ให้กับคนในหมู่บ้านมาจวบจนถึงปัจจุบันคือ “การผลิตไม้กวาดมือเสือ” และภายในหมู่บ้านมีกลุ่มออมทรัพย์๋เพื่อการผลิต มีความเข็มแข็ง มีกิจกรรมเครือข่าย ได้แก่ ศูนย์สาธิตการตลาด ที่ดำเนิการมาอย่างต่อเนื่อง

รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมให้แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และแนวทางในการขับเคลื่อนกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้
1) การรวมกลุ่มกันทำ รวมกันขาย เพื่อไม่ให้พ่อค้าคนกลางกดราคา
2) การหาเงินทุนมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เพียงพอต่อยอดการสั่งซื้อที่มีมากขึ้น เช่น กองทุนพัฒนาบทสตรี ที่ให้กู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ หรือการของบอุดหนุน เพื่อมาพัฒนาศักยภาพให้สมาชิกมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น
3) มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร กำหนดเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP และส่งเสริมช่องทางตลาดของกลุ่ม เช่น งานจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ในระดับจังหวัด ระดับประเทศ
4) มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร ประสานหน่วยงานภายในจังหวัดสนับสนุนองค์ความรู้ การเพิ่มศักยภาพ และช่องทางการตลาด ซึ่งผู้แทนสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสกลนคร ได้เสนอให้นำผลิตไปจำหน่ายในร้านธงฟ้า และตลาดธงฟ้าเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด ผู้แทนสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร เสนอให้จัดตั้งเป็นสหกรณ์ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด และสามารถเข้าถึงแหล่งทุนตามแนวทางของกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้
5) การแต่งตั้งคณะกรรมการในการศึกษาตลาดเพื่อให้กลุ่มสามารถขายผลิตภัณฑ์เองได้ หรือขายได้ราคาที่เพิ่มมากขึ้น
6) การประสานกลุ่มอื่น ๆ ในพื้นที่เพื่อเป็นเครือข่ายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งเป็นการขยายผลการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในพื้นที่อำเภอสว่างแดนดิน
7) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุน สามารถนำมาขับเคลื่อนกลุ่ม ซึ่งสมาชิกสามารถกู้ไปประกอบอาชีพ หรือ การรับซื้อผลิตภัณฑ์จากสมาชิก แล้วจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางต่อไป

เวลา 13.00 น. รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ออกพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ของนายเลียน อ่อนสุระทุม บ้านดงสวรรค์ หมู่ที่ 11 ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร พื้นที่ขนาด 3 ไร่ โดยมีนางจิรสุภา สมบัติธนดล พัฒนาการอำเภอพังโคน และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอพังโคน ร่วมต้อนรับพร้อมให้ข้อมูลการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล จำนวน 53 แปลง ทั้งนี้รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้เยี่ยมชมพื้นที่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาพื้นที่ให้มีความอุดมสมบูรณ์ และการใช้เครื่องหยอดข้าวที่ผลิตขึ้นเอง ซึ่งสามารถให้ผลลิตต่อไร่ได้ปริมาณมาก

เวลา 14.30 น. รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ออกพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย “วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน” มีนางอำไพ ดวงคุณ พัฒนาการอำเภอพรรณานิคม และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอพรรณานิคม ร่วมต้อนรับ พร้อมให้ข้อมูลและแนวทางในการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย “วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งล่าสุดจังหวัดสกลนคร ได้อนุมัติโครงการตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (งบกลาง) รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นในอำนาจของรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) กรอบวงเงินเพิ่มเติม ให้แก่จังหวัดในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 11 โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร ได้รับอนุมัติงบประมาณ จำนวน 3,828,000 บาท เพื่อสร้างอาคารผลิตเนื้อคราม จำนวน 2 หลัง ขยายเขตระบบจำหน่ายและติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า จำนวน 1 ระบบ และก่อสร้างลานจอดรถคอนกรีตเสริมเหล็ก หนา 15 เซนติเมตร จำนวน 1 แห่ง เพื่อให้ศูนย์เรียนรู้ผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย “วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นสถานที่ทอผ้าย้อมครามที่มีศักยภาพ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง และกำหนดพัฒนาต่อยอดหมู่บ้านให้เป็นชุมชนท่องเที่ยว “วิถีคราม” จะส่งผลให้คนจังหวัดสกลนครมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขตลอดไป และแม่ถวิล อุปรี ประธานกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านดอนกอยนำชมพร้อมทั้งสาธิตขั้นตอนการทอผ้า ตั้งแต่การเข็นฝ้าย การมัดหมี่ การย้อมคราม การย้อมสีธรรมชาติ การทอผ้า และการออกแบบลวดลายต่าง ๆ สมาชิกกลุ่มทอผ้าย้อมครามมีความสามารถออกแบบลวดลายต่าง ๆ ตามความต้องการของลูกค้า สมาชิกมีทั้งเด็กและกลุ่มเยาวชน ทั้งนี้รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า เช่น การแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋า การมีช่างตัดเสื้อของกลุ่ม เมื่อลูกค้ามาที่กลุ่มหากเลือกลายผ้าของกลุ่มได้แล้วก็สามารถสั่งตัดกับทางกลุ่มได้เลย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าอีกทางหนึ่ง

ในการนี้นายสมาน พั่วโพธิ์ พัฒนาการจังหวัดสกลนคร ได้ร่วมลงพื้นที่ใพร้อมทั้งให้ข้อมูลความเป็นมาของกลุ่ม และโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มไม้กวาดมือเสือบ้านหนองแสนแปน ในระหว่างวันที่ 11 – 12 ตุลาคม 2565 เพื่อเพิ่มศักยภาพกลุ่มให้มีองค์ความรู้ที่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยนวัตกรรม มีช่องทางการตลาดที่หลากหลาย สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไดราคาเหมาะสมกับกระบวนการผลิตที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะด้าน พร้อมทั้ง รายงานผลการศูนย์เรียนรู้ผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย “วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน” และแนวทางการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อให้ศูนย์เรียนรู้ผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย “วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน” มีความสมบูรณ์สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้ที่สนใจ และแผนในการส่งเสริมให้กลุ่มทอผ้าในจังหวัดสกลนครมาศึกษาเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของกลุ่มทอผ้าให้มีความเข้มแข็ง ต่อไป