วันที่ 17 สิงหาคม 2565 นายจรัญ อินทสระ พัฒนาการจังหวัดสงขลา มอบหมายให้นางจารุวรรณ จันทร์มา ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยนางสาวณภัสนันทร์ เจริญพันธ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชน กลุ่มงานส่งเสริมฯ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้ากลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ช่างทอผ้าและช่างหัตถกรรม ที่ร่วมสมัครการประกวดผ้าลายพระราชทาน“ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ที่ ”กลุ่มทอผ้าบ้านล่องมุด”อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
.ซึ่งได้เน้นย้ำการสืบสาน รักษา และต่อยอดเอกลักษณ์ประจำถิ่น ตามพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” คือ ความสุขที่ได้เลือกใช้ศิลปะ หัตถกรรมไทย ส่งเสริมกระตุ้นผ้าไทย ให้ทันสมัยสู่สากลเป็นที่นิยมในทุกเพศทุกวัย และทุกโอกาส

กรมการพัฒนาชุมชน ได้แจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา”โดย ดำเนินการรับสมัคร รวบรวม และสรุปรายชื่อกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ช่างทอผ้าและช่างหัตถกรรม สนใจสมัครเข้าร่วมการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายนารีรัตนราชกัญญา” เปิดโอกาสให้กับกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ช่างทอผ้าและช่างหัตถกรรมทั่วประเทศ ได้จัดส่งผลิตภัณฑ์เข้าร่วมการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” จังหวัดสงขลามอบหมายสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสงขลาดำเนินการรับสมัครผู้เข้าประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” และงานหัตถกรรม ระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน – 5 สิงหาคม 2565 และขยายระยะเวลาถึง 19 สิงหาคม 2565 เนื่องจากมีกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ช่างทอผ้าและช่างหัตถกรรม สนใจเป็นจำนวนมาก โดยผู้สมัครเข้าประกวดต้องจัดส่งผ้าและงานหัตถกรรม พร้อมแนวคิดในการทำบรรจุภัณฑ์ (Packaging) และเรื่องเล่า (Storytelling)

ทั้งนี้กรมการพัฒนาชุมชนแผนปฏิบัติการการดำเนินงานประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา”จัดประกวดระดับภาค โดยภาคใต้ ดำเนินการ วันที่ 26-27 ส.ค. 2565 (สถานที่จังหวัดสงขลา) ภาคกลาง 2-3 ก.ย.2565 ภาคเหนือ 9-10 ก.ย. 2565 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16-19 ก.ย. 2565 คณะกรรมการระดับภาค คัดจากจำนวน 2,500 ผืน ให้คงเหลือ 300 ผืน
คัดเลือกผ้าลายพระราชทาน เพื่อบันทึกภาพ โดยคณะกรรมการระดับภาค คัดจากจำนวน 300 ผืนให้คงเหลือ 150 ผืน
ประกวดรอบรองชนะเลิศ วันที่ 15 ต.ค.2565 โดยคณะกรรมการกิตติมศักดิ์ คัดจากจำนวน 150 ผืน ให้คงเหลือ 50 ผืน
รอบตัดสินระดับประเทศ ชิงรางวัลพระราชทาน วันที่ 31 ต.ค. 2565 โดย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จมาเป็นประธานการประกวด โดยรางวัลประกอบด้วย เหรียญทอง 21 รางวัล เหรียญเงิน 21 รางวัล เหรียญนาก 21 รางวัล และรางวัลพิเศษ 1) Best of the Best รางวัลชนะเลิศรางวัลเดียวจากในแต่ละประเภท 2) สี Trend Book 3) ลวดลายตามแบบพระราชทานยอดเยี่ยม 4) บรรจุภัณฑ์ (Packaging) ยอดเยี่ยม 5) ผ้าไหมพื้นบ้านยอดเยี่ยม 6) Young OTOP 7) งานหัตถกรรมที่นำลายพระราชทาน มาต่อยอดที่มีความโดดเด่นและยอดเยี่ยม