วันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ณ พื้นที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (นายสมคิด จันทมฤก) มอบหมาบให้รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (นายนิวัติ น้อยผาง) ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ติดตามการขับเคลื่อน “โคก หนอง นา ” และการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

นายนิวัติ น้อยผาง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ติดตามงานตามนโยบายกรมการพัฒนาชุมชน โดยผู้ว่าราชการจังหวัด (นายกฤษณ์ คงเมือง) มอบหมายให้นางสาวมนทิรา เข็มทอง พัฒนาการจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมด้วย ผู้อำนวยการกลุ่มงาน, พัฒนาการอำเภอ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์ ให้การต้อนรับและร่วม ลงพื้นที่เยี่ยมครัวเรือนเป้าหมาย TPMAP ตามโครงการขจัดความยากจน และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมอบของใช้จำเป็นให้กับครัวเรือน จำนวน 2 ครัวเรือน ได้แก่ นางคำฮู้ จันทร์เลิศ หมู่ที่ 5 ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก และนายทำนอง พันธ์ยาง บ้านเลขที่ 142 หมู่ที่ 5 ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก และหลังจากนั้นได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน” ณ พื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) จำนวน 2 จุด ดังนี้

จุดที่ 1 แปลงนายวรพล บุญศิริ หมู่ที่ 10 ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้รับการจัดสรรพื้นทื่เพิ่มเติม จากกรมการพัฒนาชุมชน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ดำเนินการขุดปรับแปลงที่ดินและสร้างฐานการเรียนรู้ทั้ง 9 ฐานโดยแรงงานจิตอาสาในตำบล ได้แก่ ฐานเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ ฐานเรียนรู้คนหัวเห็ด ฐานเรียนรู้คนเอาถ่าน ฐานเรียนรู้คนรักษ์แม่ธรณี ฐานเรียนรู้คนติดดิน ฐานเรียนรู้คนรักษ์น้ำ ฐานเรียนรู้คนรักษ์แม่โพสพ ฐานเรียนรู้คนมีไฟ และฐานเรียนรู้คันนาทองคำ เสร็จเรียบร้อย ในวันนี้จึงจัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคีปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และปล่อยปลา จุดที่ 2 แปลงนายพัฒนพงษ์ เทืองน้อย หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำชุน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้รับการจัดสรรพื้นที่เพิ่มเติมจากกรมการพัฒนาชุมชน เนื่องจากเป็นพื้นที่ภัยแล้งซำ้ซาก ศอญ. ลุ่มน้ำน่าน เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ได้ดำเนินการขุดปรับแปลงที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการสร้างฐานการเรียนรู้ นอกจากนี้พื้นที่ CLM ยังดำเนินกิจกรรมถนนสุขภาพโดยการปลูกผักสวนครัวไว้ริมทางเพื่อให้คนในชุมชนได้บริโภคพืชผักปลอดสารพิษ ในวันนี้จึงจัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคีปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ปล่อยปลา และทำหลุมพอเพียง

โดยจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายโคก หนอง นา โดยได้นำ Model ของการขับเคลื่อนแนวทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ : Sufficiency Economy Development Zones) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ มาปรับใช้ ได้แก่ การสร้าง PLM (Province Lab Model) : ระดับจังหวัด,DLM (District Lab Model) : ระดับอำเภอ โดยทั้ง 11 อำเภอจะต้องดำเนินการสร้างเครือข่าย DLM ซึ่งประกอบด้วยครัวเรือน HLM ในแต่ละอำเภอ รวมกันเป็น DLM และจะใช้ DLM แม่ข่าย ได้แก่ ได้แก่ แปลงวัดพระวรราชาทินัดดามาตุ หมู่ที่ 5 ตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ แปลงนางสาวไพลินรุ้ง ขันธ์วราพันธิชัย หมู่ที่ 7 ตำบลยางงาม อำเภอหนองไผ่ แปลงนายพัฒนพงษ์ เทืองน้อย หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำชุน อำเภอหล่มสัก แปลงนายบุญธรรม ดวงอุปะ หมู่ที่ 6 ตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง และแปลงนายวรพล บุญศิริ หมู่ที่ 10 ตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก ซึ่งเป็นแปลง CLM เพื่อให้ ครัวเรือน HLM แต่ละอำเภอเข้ารับการฝึกอบรม ถ่ายทอดองค์ความรู้โคกหนองนาโมเดล โดยใช้กลไก 3 5 7 สำหรับการขับเคลื่อน : สานพลัง 3 ระดับ 5 กลไก 7 ภาคี ร่วมปฏิรูปประเทศด้วยเศรษฐกิจพอเพียง (3) การจัดการในระดับพื้นที่ ชุมชน จังหวัด สู่ระดับประเทศ (5) กลไก ได้แก่ 1) ประสานงานภาคีเครือข่าย 7 ภาคีฯ 2) การบูรณาการแผนงานและยุทธศาสตร์ 3) การกำกับ ติดตาม หนุนเสริม เตือนภัย และประเมินผล 4) การจัดการความรู้พัฒนาบุคลากน และ 5) การรับฟังและสื่อสารเชิงรุก (7) ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ภาคประชาชน ภาคศาสนา ภาคเอกชน ภาคสื่อ ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาครัฐโดยมีการบ่มเพาะพี่เลี้ยงอาสาใน 7 ภาคส่วน
ทั้งนี้ นายชาคริน อินอิ่มวรปราชญ์ นายอำเภอหล่มสัก พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการอำเภอหล่มสัก, นายวิชชา ฉัตรวิโรจน์ นายกองค์กรบริหารส่วนตำบลปากช่อง, นางรัชดาพร ฉัตรวิโรจน์ หัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลปากช่อง, นางอัมพร กุลวงศ์ พัฒนาการอำเภอหล่มสัก, เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอหล่มสัก และครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต พื้นที่อำเภอหล่มสัก ร่วมให้การต้อนรับ