วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 16.00 น. ณ ศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านศรีไคออก หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ นายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นายพิสดาร ประดา พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี นางกนกอร โพธิ์สิงห์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนภาคเอกชนและภาคธุรกิจ และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ลงพื้นที่ศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านศรีไคออก หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี นางนารี อุปถัมภ์ พัฒนาการอำเภอวารินชำราบ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่าวในพื้นที ร่วมให้การต้อนรับและสนับสนุนการดำเนินงาน

สำหรับ นายทศพล ไกรพันธ์ ผู้ใหญ่บ้านศรีไคออก หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ พร้อมผู้ดูแล ได้ให้การต้อนรับและกล่าวถึงความเป็นมาของศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ แห่งนี้ ได้กำเนิดขึ้นโดยกรมการพัฒนาชุม กระทรวงมหาดไทย และได้ขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการปลูกผักอินทรีย์ 100% โดยอาศัยความรู้และการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และได้พากันลงทุนเพื่อสร้างเป็น Supermarket ชุมชน ทั้งนี้ ยังประสบปัญหาคือกำลังการผลผลิตยังไม่พอขาย เนื่องจากมีผู้สนใจติดต่อและสนใจจำนวนมาก ทั้งช่องทาง Online และซื้อโดยตรงที่ศูนย์เรียนรู้ Supermarket ชุมชนแห่งนี้ด้วย จึงถือว่าศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ สามารถขยายผลเป็นต้นแบบในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG) ตามนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย

โอกาสนี้ นายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้พบปะกับเจ้าของพื้นที่และคณะผู้ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานว่า “ถือเป็นครั้งที่สองแล้วในการมาเยี่ยมเยือนพื้นที่แห่งนี้ เพื่อที่จะเชื่อมโยง Supermarket ชุมชน โดยมีศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงกับภาคี ไม่ว่าจะเป็นภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสเกิดเครือข่ายที่ก้าวไปอีกขั้น โดยก่อนหน้านี้ ผมได้มาปลูกผลผลิตและเกษตรอินทรีย์ ณ ที่แห่งนี้ ในวันนี้จึงได้นำภาคีเครือข่ายมาเยี่ยมชม เพื่อหาแนวทางส่งเสริมสนับสนุนและความร่วมมือในการสร้างโอกาสให้แก่ผลผลิตที่ทรงคุณค่าในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ที่ยังมีแหล่งสินค้าแบบนี้อยู่ นอกจากนั้น ยังควรขยายผลพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นต้นแบบในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG) ตามนโยบายของรัฐบาล ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ให้แก่พื้นที่ใกล้เคียงต่อไปได้ ขอให้ทุกท่านได้ช่วยกันพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของพวกเราร่วมกันต่อไป”