วันนี้ 12 ตุลาคม 2565 นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล โครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล โดยมี นายวรงค์ แสงเมือง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กล่าวรายงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Young OTOP) เข้าร่วมอบรม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom Application ณ ห้องประชุม 5001 ชั้น 5 กรมการพัฒนาชุมชน

นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เป็นทายาทผู้ประกอบการ OTOP หรือเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วม และเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (Young OTOP) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 รวม 483 ราย เพื่อเป็นการต่อยอดให้ Young OTOP ได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นผู้ประกอบการ OTOP รุ่นใหม่ ที่มีความสามารถในการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม โดยดึงเสน่ห์เรื่องราว ผลิตภัณฑ์มาสร้างสรรค์เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความร่วมสมัยตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและสามารถแข่งขันในช่องทางการตลาดได้ทั้ง Offline และ Online ซึ่งจะทำให้ Young OTOP มีอาชีพ มีรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้ ตลอดจนวางรากฐานให้เยาวชนคนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาทนแทนคนรุ่นเก่าที่กำลังร่วงโรยลงไป ให้เกิดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาดั้งเดิมและต่อยอดการพัฒนาจากรุ่นสู่รุ่น และในส่วนของกลุ่มที่กรมการพัฒนาชุมชนได้พัฒนาแล้ว ยังคงจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้เป็นกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบ OTOP ที่มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป

กรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดทำโครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Young OTOP) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ต่อยอดภูมิปัญญายกระดับการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP ของ Young OTOP ให้มีคุณภาพมาตรฐาน มีอัตลักษณ์เฉพาะ สร้างสรรค์และทันสมัยสามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล ตลอดจนเพิ่มช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ Young OTOP โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการคัดเลือกเป็นเยาวชน OTOP (Young OTOP) ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย จำนวน 113 ราย การดำเนินโครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญา ผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล
มีกิจกรรมหลักประกอบด้วย
กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล โดยใช้ระบบออนไลน์ หรือตามความเหมาะสม จำนวนไม่น้อยกว่า 14 ชั่วโมง โดยมีเนื้อหาหลักสูตร ดังนี้ 1. แนวทางการสร้างสรรค์ตราสัญลักษณ์ แบรนด์และความสำคัญของการสร้างแบรนด์ 2. แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3. การวิเคราะห์ความต้องการ และวางกลยุทธ์การจำหน่ายให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 4. แนวทางการส่งเสริมการตลาดและการจำหน่ายสินค้าด้วยตนเอง 5. แนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ 6. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ การออกแบบผลิตภัณฑ์/ลวดลายที่ร่วมสมัย 7. การให้สีโดยบูรณาการองค์ความรู้จากหนังสือ Thai Textiles Trend Book Autumn/Winter 2022-2023 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ 8. บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ประกอบการ Young OTOP
กิจกรรมที่ 2 พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญา Young OTOP สู่สากล โดยดำเนินการร่างต้นแบบผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของผู้ประกอบการ Young OTOP ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวนไม่น้อยกว่ากลุ่ม/รายละ 3 รูปแบบ และผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์พร้อมบรรจุภัณฑ์ ที่กลุ่มเป้าหมายเลือก ไม่น้อยกว่ากลุ่ม/รายละ 1 ชิ้นงาน
กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมทดสอบตลาด การประชาสัมพันธ์ การจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านระบบ Online หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสม และประกวดผลงานผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาตามโครงการพัฒนาต่อยอด ภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล รับรางวัลต้นกล้านารีรัตน รางวัลพระราชทานจาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ กล่าวต่อว่า กรมการพัฒนาชุมชน ยินดียิ่งที่การจัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP โครงการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ Young OTOP สู่สากล ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลากหลายสาขาวิชาชีพ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นใย ดีไซเนอร์นักออกแบบผ้าไทยที่มีชื่อเสียง ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ ตลอดทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ผู้มีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มาช่วยให้ความรู้ คำแนะนำที่ดีแก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรม กรมการพัฒนาชุมชนมุ่งหวังให้กลุ่มเป้าหมายเยาวชน OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย ที่ผ่านการพัฒนา ตามโครงการพัฒนา Young OTOP ในครั้งนี้ ได้เติบโตขึ้นเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่เข้มแข็ง สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ของตนเอง ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล และนำรายได้ และความสำเร็จกลับคืนสู่ชุมชน พัฒนาชุมชนให้ก้าวเดินไปพร้อมกันได้อย่างมั่นคง และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลังจากผ่านการฝึกอบรมในครั้ง ผู้เข้ารับการอบรม จะได้นำความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความสร้างสรรค์ ทันสมัย ตลอดจนการเข้าถึงช่องทางการตลาดต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยไม่ทิ้งรากเหง้าของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เราสั่งสมมา นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน ได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้าอบรมทุกท่าน จะได้รับความรู้และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของทุกท่าน ยกระดับเป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดสากล
ที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้เพิ่ม ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้ภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม เน้นการตอบแทนประโยชน์เพื่อสังคม มีการพัฒนาการตลาดออนไลน์ การพัฒนาเส้นใยต่าง ๆ จากเทรนด์บุ๊ค ทำให้ผลิตภัณฑ์มีการพัฒนา มีโอกาสเติบโต มุ่งสู่สากล การสร้างตลาดออนไลน์ให้กว้างขวาง ตระหนักในสิ่งนี้ ทุกคนมีโอกาส เป้าหมายของการพัฒนาชุมชนว่า “สร้างหลักฐานและมีงานทำ ประกอบกิจกรรม ร่ำรวยเพราะช่วยตน้อง” ทำให้ร่ำรวย สร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในแบรนด์ของตนเอง ให้มีความโดดเด่น ไม่มีใครเหมือน ขอให้คนที่เข้าอบรม รับความรู้ ความเข้าใจ นำไปใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์ของตนเอง ให้มุ่งสู่สากล ให้มีการเติบโต ให้ตนเองและครอบครัวมีอาชีพ และรายได้มั่นคง ต่อไป อธิบดี พช. กล่าวทิ้งท้าย